วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

โรงเรียนสังวาลย์วิทยา

อำเภอเมืองเชียงใหม่

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑


ประวัติโรงเรียนสังวาลย์วิทยา

            ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระราชสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ(ราชทินนามในขณะนั้น)  ได้พิจารณาเห็นว่า  เด็กที่ติดตามผู้ปกครองมาตั้งหลักฐานประกอบอาชีพอยู่บนดอยสุเทพนี้มีจำนวนมาก  แต่มิได้รับการศึกษาอบรมเลย  ส่วนผู้ปกครองที่มีฐานะดี  ได้ส่งบุตรหลานไปเข้าเรียนในเมือง  ยังมีเด็กอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเพราะผู้ปกครองยากจน  เด็กเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาไม่มีที่เรียน  เที่ยววิ่งขายดอกไม้ธูปเทียนล้อมหน้าล้อมหลังผู้ที่ขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพไปวันหนึ่งๆ ไม่เป็นการเหมาะสมยิ่ง  ทางวัดจึงได้พิจารณาจัดตั้งสถานอบรม และให้การศึกษาแก่เด็กเหล่านี้ขึ้น  พร้อมทั้งขอร้องผู้ปกครองให้ส่งเด็กเข้ารับการอบรม  ทางวัดจึงได้เริ่มให้การศึกษาและอบรม  แต่ดำเนินไปได้ไม่นานก็หยุด  เพราะไม่ได้ผล  เนื่องจากเด็กมาบ้างไม่มาบ้าง  แต่ทางวัดก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ  จึงได้ขอความร่วมมือจาก นายตั๋น  ศรีขาว  คหบดีบนดอยสุเทพนี้  ให้จัดตั้งสถานที่อบรมสั่งสอนเด็ก  โดยนายตั๋น  เป็นผู้ดำเนินการ(เก็บเงิน) และเมื่อถึงวันพระก็ให้นำเด็กขึ้นไปทำพิธีสวดมนต์ไหว้พระ และเริ่มการฝึกหัดกราบไหว้จากพระภิกษุในวัดพระธาตุดอยสุเทพ  การอบรมสั่งสอนครั้งนี้  ได้ดำเนินการไปเพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นก็เลิกล้ม  เพราะเด็กมาเรียนบ้างไม่มาเรียนบ้าง  ทั้งผู้ปกครองเด็กก็ขาดทุนทรัพย์

        ต่อมาในวันที่  ๒๒  พฤษภาคม  ๒๕๐๘  คณะผู้นำเยาวชนอาสาสมัครจังหวัดเชียงใหม่  มี ด.ร. ไมตรี  สุทธจิตต์  เป็นประธาน  ได้ขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ  และได้ทราบความเป็นไปของเด็กดังกล่าว  จึงได้ดำริจัดตั้งสถานที่อบรมเด็กขึ้นมาอีก  และนำเรื่องเข้ากราบเรียนปรึกษา พระราชสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ (ปัจจุบันได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพวิสุทธาจารย์) พระเดชพระคุณมีความเห็นชอบและสนับสนุน โดยอนุญาตให้ใช้ศาลาเชิงบันไดนาค  ซึ่งมึความกว้าง 6.15 เมตร พร้อมทั้ง อุปกรณ์  เป็นสถานที่ให้การศึกษาอบรมเด็ก  และมีคณะสมาชิกชุมนุมเยาวชนได้ผลัดเปลี่ยนวันขึ้นมาสอนทุกวันเสาร์-อาทิตย์  ดำเนินการไปได้ไม่นาน เพราะไม่ได้ผล  ทางคณะชุมนุมเยาวชนจึงได้ขอความร่วมมือไปยัง สโมสรโรตารี่ขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินเป็นค่าจ้าง ครูสอนประจำ แต่ทางสโมสรโรตารี่ก็ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือไปได้ตลอด


            ในเดือนตุลาคม ๒๕๐๘ พระราชสิทธาจารย์ พร้อมด้วยกรรมการวัดพระธาตุดอยสุเทพ  ได้พิจารณารับเอาสถานที่อบรมเด็กนี้ไว้ในความอุปถัมภ์ของ วัดพระธาตุดอยสุเทพได้จัดสรรเงินวัดมาเป็น ค่าจ้างครูสอนประจำดำเนินการมาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  ทำให้มีเด็กเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทางวัดมีพระราชสิทธาจารย์เป็นประธาน  จึงได้พิจารณาเห็นควรขอจัดตั้งเป็น โรงเรียนประชาบาลต่อไป  โดยทำหนังสือของวัดที่  ๑๓๑/๒๕๑๐  ลงวันที่  ๑๘ ธันวาคม  ๒๕๑๐  เสนอต่อนายชุ่ม  บุญเรือง  นายอำเภอเมืองเชียงใหม่  เพื่อพิจารณายกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนประชาบาล  ประจำหมู่บ้านบนดอยสุเทพ  ทางอำเภอเห็นชอบได้เสนอจังหวัดตามลำดับ  และได้อนุมัติให้ตั้งเป็น โรงเรียนประชาบาล  ตามหนังสือของจังหวัดที่  ชม. ๒๓/๘๘๖๓  ลงวันที่  ๑๐  มิถุนายน  ๒๕๑๑
               วันที่    สิงหาคม  ๒๕๑๑  ได้ทำพิธีเปิดป้ายนามโรงเรียน โรงเรียนวัดพระธาตุดอยสุเทพ  โดยมีนายชุ่ม  บุญเรือง  นายอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นประธานในพิธี  ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑ ถึงประถมศึกษาปีที่    มีนักเรียนทั้งสิ้น  ๓๓  คน  เป็นชาย  ๑๖  คน  เป็นหญิง  ๑๗  คน  มีครูช่วยสอน    คน (ทางวัดออกเงินค่าตอบแทนให้เดือนละ  ๓๐๐  บาท ต่อคน) ต่อมาทางราชการได้ส่ง นายทองคำ  จินดารักษ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านแม่เหียะสามัคคีและเป็นประธานกลุ่มสุเทพ  ให้มาดำรงตำแหน่งรักษาการครูใหญ่ไปพลางอีกตำแหน่งหนึ่ง  ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่  ๒๒  กรกฎาคม  ๒๕๑๑  เป็นต้นมา
              ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า  ศาลาเชิงบันไดนาคที่ใช้เป็นสถานที่เรียนคับแคบ  ทั้งอาคารและสถานที่ตั้งไม่สามารถขยับขยายได้  จึงได้นำความกราบทูล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เพื่อทรงทราบ  พระองค์ได้รับสั่งให้ป่าไม้ร่วมกับจังหวัดและอำเภอเลือกหาสถานที่สร้างโรงเรียนใหม่  โดยให้อยู่ระหว่างวัดพระธาตุดอยสุเทพกับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์  ทางป่าไม้ซึ่งมี นายเฉลียว  นิ่มนวล เป็นหัวหน้า  ได้เลือกหาสถานที่ได้ติดกับสถานีถ่ายทอดโทรทัศน์ช่อง ๑๐ (ปัจจุบันช่อง ๑๓)  และได้ไถปรับสันเขาเป็นพื้นที่สร้างโรงเรียน  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เนื้อที่ประมาณ    ไร่เศษ
               วันที่ ๒๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๔ เวลา ๑๔.๓๙ น.  ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างอาคารเรียนใหม่  โดยมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธี  เมื่อสร้างอาคารเสร็จแล้วได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า  โรงเรียนสังวาลย์วิทยา เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม  ๒๕๑๕  ตั้งแต่นั้นมา โรงเรียนวัดพระธาตุดอยสุเทพ จึงได้นามใหม่ว่า โรงเรียนสังวาลย์วิทยา


         วันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๖  เวลา  ๑๓.๓๐  น.  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายนามอาคารเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิทยา  และได้พระราชทานสิ่งของไว้เป็นสมบัติของโรงเรียน  ดังมีรายการต่อไปนี้
  • พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์    องค์  ขนาดหน้าตักกว้าง    นิ้ว  สูง    นิ้วครึ่ง
  • วิทยุ  ยี่ห้อ  NATIONAL    เครื่อง
  • พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลปัจจุบัน    รูป
  • ธงชาติไทย       ผืน
  • อุปกรณ์การสอนคณิตศาสตร์และภูมิศาสตร์
  • น้ำประปาสำหรับใช้ในโรงเรียน  โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์  จำนวน  ๒๕,๐๐๐  บาท  สร้างให้
            ในปีการศึกษา  ๒๕๑๗  เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาที่    แต่อาคารเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนัดเรียน  นายสนิท  พิบูลยรัตน์  ครูใหญ่  ได้เข้ากราบเรียนพระเทพวิสุทธาจารย์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ  องค์อุปถัมภ์  และคณะกรรมการสถานศึกษา  เพื่อขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ  หาเงินสร้างอาคารเรียนเพิ่ม  และได้รับความอนุเคราะห์  โดยคณะกรรมการสถานศึกษามีนายศรีทน  ทองสว่าง  นายเรือน  เขียวมั่น  พร้อมด้วยคณะกรรมการอื่นๆ  ช่วยกันจัดตั้งองค์ผ้าป่าขึ้น  เพื่อหาเงินมาสมทบสร้างอาคารเรียน  และได้เงินทั้งสิ้น  ๒๓,๕๓๖.๕๐  บาท  ได้รับบริจาคจากผู้ปกครองและผู้มีจิตศรัทธาเพิ่มอีกจำนวน  ๒๗,๓๖๐  บาท  จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบ ป.๑ ก.ไม้  ขนาด    ห้องเรียน  ในเดือนกรกฎาคม  ๒๕๑๗  แต่เงินไม่พอ  จึงได้ติดต่อของบประมาณจังหวัด  และเงินภาษีบำรุงท้องที่จากสภาตำบล  ได้เงินจำนวน  ๔๔,๒๕๐.๕๐  บาท  สร้างเสร็จใช้เป็นอาคารเรียนได้ในปี  ๒๕๑๘  และให้นามอาคารว่า อาคารเทพวิสุทธาจารย์ประชานุสรณ์  ใช้งบประมาณในการสร้างทั้งหมด  ๙๕,๑๔๗.๕๐  บาท

        ปัจจุบันโรงเรียนสังวาลย์วิทยาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๓ ขวบ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา 3 ซึ่งนักเรียนร้อยละ 80 เป็นชนเขาเผ่าม้ง ผู้บริหารคนปัจจุบัน คือ นายพลภัทร คำภีระ มีครูประจำการ จำนวน ๑๐ คน ครูอัตราจ้าง จำนวน ๕ คน มีเขตบริการ ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านดอยสุเทพ หมู่บ้านภูพิงค์ หมู่บ้านดอยปุย และหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน

คำขวัญของโรงเรียน  :  "วินัยดี มีคุณธรรม นำปัญญา พลานามัยสมบูรณ์

สีประจำโรงเรียน   :  สีน้ำเงิน-เหลือง

อักษรย่อของโรงเรียน  :  ส.ว.

ปรัชญาของโรงเรียน  :   "สุวิชาโน ภวัง โหติ" ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ